1

อำเภอ

บางปะกง

อำเภอบางปะกงตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง เป็นประตูสู่เขตภาคตะวันออกปัจจุบันการท่องเที่ยวนับว่ามีส่วนสร้างรายได้ให้กับชุมชนและอำเภอ บางปะกงก็พร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวที่กำลัง เติบโตที่แรกที่ไม่ควรพลาดคือ วัดหงษ์ทองที่มีทัศนียภาพที่ห้อมล้อมด้วยผืนน้ำทะเลมีพระธาตุคงคา มหาเจดีย์ฯบรรจุพระธาตุพระอรหันต์กลางทะเล เป็นแห่งแรกของโลก
ริมแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
2
ที่แรกที่ไม่ควรพลาด คือ วัดหงษ์ทอง ที่มีทัศนียภาพที่ห้อมล้อมด้วยผืนน้ำ ทะเลมีพระธาตุคงคามหาเจดีย์ฯบรรจุพระธาตุพระอรหันต์กลางทะเลเป็นแห่งแรกของโลก
วัดหงษ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา
แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
อีกกิจกรรมหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาอำเภอบางปะกง คือ การเที่ยวชมเกาะนก เป็นเกาะที่เกิดตามธรรมชาติบนพื้นที่ 125 ไร ่เป็นเส้นทางศึกษามีสภาพเป็นป่า ชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติระยะทาง1,300 เมตรที่สามารถพบเห็นนก นานาชนิด ค้างคาวแม่ไก่ และลิงแสมตลอดทางพร้อมหอชมวิวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนอีกวัดที่แนะนำ คือวัดเขาดินเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขา แห่งเดียวในอำเภอ บางปะกงมีพระมหาธาตุเจดีย์อยู่บนยอดเขาดินซึ่งเป็นจุดชม วิวอีกด้วย
3
อีกกิจกรรมที่ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของอำเภอบางปะกง ได้แก่ การล่องเรือชมปลาโลมาบริเวณปากอ่าวแม่น้ำ บางปะกง ฝูงปลาโลมาจากอ่าวไทยจะตามแหล่งอาหาร มากินเพราะ จะมีปลาดุกทะเลจำนวนมากที่เป็นอาหาร โปรดของโลมา สายพันธุ์ที่พบมากคือ พันธุ์หัวบาตร ช่วงที่พบมากคือช่วงฤดูหนาว ซึ่งในปัจจุบันด้วย สภาพแวดล้อมที่แปรปรวนทำให้ไม่ค่อยพบโลมา จำนวนมากเท่าเมื่อก่อน
ล่องเรือชมปลาโลมา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตลาดท่าสะอ้าน จังหวัดฉะเชิงเทรา
มื้อเย็นอย่าลืมแวะทานอาหารที่ตลาดท่าสะอ้านริมแม่น้ำบางปะกงใกล้ ที่ว่าการอำเภอมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มมากมายให้เลือกรับประทาน ในบรรยากาศยามเย็นสุดโรแมนติก โดยตลาดท่าสะอ้านเปิดทุกวันเวลา 17.00 - 22.00 น.
4
ประเพณีที่จะพบในอำเภอบางปะกงได้แก่ ประเพณีแห่ ธงตะขาบ วัฒนธรรมของชาวรามัญที่ตั้งรกรากอยู่ บริเวณวัดพิมพาวาส ประเพณีดังกล่าวจัดขึ้นในช่วง เทศกาลวันสงกรานต์เป็นการสืบสานงานหัตถกรรม อันแสดงถึงความละเอียดอ่อนและเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวรามัญ คือ การทำธงกระดาษผู้ที่จะทำธงกระดาษ ได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และสืบทอดการทำธงตะขาบ มาจากบรรพบุรุษทั้งยังเป็นการแสดงความระลึกถึง บรรพบุรุษอีกด้วย อีกประเพณีหนึ่งของชาวรามัญคือ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเป็นการถวายน้ำผึ้งแก่พระสงฆ์ และสามเณร โดยจะจัดขึ้นในกลางเดือน 9 ของทุกปี ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตรและใส่น้ำตาลในจานที่ วางคู่กับบาตรและมักจะมีข้าวต้มมัดสำหรับพระจิ้ม น้ำผึ้งฉันด้วย
  • ติดตามพวกเรา :